วิธีเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์


ขลุ่ยรีคอร์เดอร์

รีคอร์เดอร์ (Recorder ) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ นิยมเล่นมากในศตวรรษที่ 16 และ 17 และได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ รีคอร์เดอร์มีรูสำหรับใช้นิ้วเปิด –ปิด 8 รู ลำตัวจะเป็นทรงกรวย เดิมทำด้วยไม้ ในยุคหลังมีการใช้วัสดุอื่นมาผลิตแทนไม้ เช่น
พลาสติก หรือเรซิน มีปากเป่าลักษณะเหมือนกับนกหวีด คุณภาพของเสียงของรีคอร์เดอร์ จะนุ่มนวลบางเบา สดใสจัดอยู่ในตระกูล
  ขลุ่ยรีอคร์เดอร์ มีทั้งหมด 10 ระดับเสียง แต่มีเพียง 6 ระดับเสียงที่นำมาใช้กันมาก (ดังภาพที่ 2 และ 3) ได้แก่
1. Sopranino มีความยาว 9 นิ้ว เป็นขลุ่ยที่เล็กที่สุด และมีระดับเสียงที่สูงที่สุด
2. Soprano หรือ Descant มีความยาว 12 นิ้ว ใช้ในการเล่นทำนอง
3. Alto บางครั้งเรียกว่า The Treble มีความยาว 18 นิ้วครึ่ง
4. Tenor มีความยาวประมาณ 25 นิ้วครึ่ง
5. Bass มีความยาว 3.6 นิ้ว
6. Contra Bass มีความยาว 49 นิ้ว
และขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่นิยมเป่ากันทั่วไป คือ โซปราโน รีคอร์เดอร์ (Soprano Recorder)
ส่วนขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่ไม่ค่อยนิยมใช้ในการบรรเลง คือ recorder Big Bass และRecorder Sopranino
การจับขลุ่ยรีคอร์เดอร์
  เวลา บรรเลงให้ใช้มือซ้ายจับลำตัวขลุ่ยรีคอรเดอร์ส่วนบน โดยนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง แทนด้วยตัวเลข 1 2 และ 3 ตามลำดับ นิ้วหัวแม่มือปิดที่รูด้านหลัง ส่วนมือขวาจับลำตัว ส่วนล่างของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ โดยจะใช้ 4 นิ้ว คือนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยแทนด้วยตัวเลข 1 2 3 และ 4 ตามลำดับนิ้วหัวแม่มือขวาใช้ประคองขลุ่ยไว้
การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์
  เม้ม ริมฝีปากเบา ๆ อมปากขลุ่ยรีคอร์เดอร์เล็กน้อย เป่าลมเข้าเบา ๆ ก็จะเกิดเสียงตามต้องการ เมื่อจะเป่าเสียงสูงต้องเม้มริมฝีปากให้เน้นขึ้นแล้วเป่าลมแรง ส่วนการเป่าเสียงต่ำจะค่อย ๆ ผ่อนริมฝีปากออกแล้วเป่าลมเบา ๆ การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์มีวิธีเป่าหลายวิธี เช่น การเป่าโดยใช้ลิ้นเพื่อให้เสียงหนักแน่นและเสียงขาดจากกันเป็นตัว ๆ หรือการเป่าโดยใช้ลมเพื่อให้เลื่อนไหลติดต่อกัน เป็นต้น ผู้ฝึกเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ควรฝึกการควบคุมลม ให้ลมที่เป่ามีความสม่ำเสมอโดยการเป่าออกเสียงให้ตำแหน่งลิ้นเหมือนพูดคำว่า ทู “Too” และใช้ลมเป่า พอประมาณ ไม่เป่าด้วยลมที่แรงหรือลมที่เบาเกินไป ซึ่งพอจะสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1. วางตำแหน่งนิ้วให้ถูกต้อง ประคองขลุ่ยให้ทำมุมกับลำตัวเป็นมุม 45 องศา
2.ใช้มือซ้ายวางนิ้วอยู่ส่วนบนของขลุ่ย และมือขวาวางนิ้วอยู่ส่วนล่างของขลุ่ย
3.วางปากขลุ่ยระหว่างริมฝีปากบนและล่าง เม้มริมฝีปากอมปากขลุ่ยเล็กน้อย
4.ขณะที่เป่าโน้ตพยายามปิด “ รู ” ให้สนิท ยกนิ้วขึ้นลงอย่างรวดเร็ว
ตามการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียง
5.อย่ากัดปากขลุ่ย ( Mouth piece ) ขณะที่เป่า
6.ควบ คุมลมหายใจ อย่าเป่าลมแรงเกินไปเพราะจะทำให้เสียงเพี้ยน (ผิด) จงจำไว้ว่า เสียงที่ถูกต้องจะต้องเกิดจากการเป่า และพยายามสังเกตด้วยว่าเวลาเป่าเสียงต่ำ ควรจะเป่าลมเบา ๆ เสียงสูงควรจะเป่าลมแรง ๆ ตามระดับตัวโน้ต
7.ควรสังเกตในการวางท่าในการเป่า ทั้งยืนและนั่ง ให้สง่างาม หลังตรง เพราะจะช่วยในการควบคุมลมที่เป่าได้ด้วย
8.ควรฝึกเป่าขลุ่ยเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
การดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์เดอร์
หลังจากการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์แล้ว ผู้เป่าควรปฏิบัติดังนี้
1.นำขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำอุ่นที่ผสมสบู่อ่อน ๆ ทุกครั้งหลังการใช้งาน
2.การ ประกอบหรือถอดขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ควรถอดข้อต่อด้วยการค่อย ๆ หมุนออกตามแนวเข็มนาฬิกา ท่อนส่วนหัว(Head Joint) ที่ล้างสะอาดแล้ว ควรเช็ดด้วยผ้านุ่ม ๆ ที่สะอาด
ห้ามใช้การสะบัดให้แห้ง เพราะขลุ่ยรีคอร์เดอร์อาจแยกหลุดออกจากกัน หรือหล่นแตกได้ง่าย
3. การทำความสะอาดส่วนกลาง (Middle Joint) และส่วนท้าย (Foot Joint) โดยวิธีใช้
ผ้านุ่มที่สะอาดเช็ด และการถอดข้อต่อออกจากกัน อาจใช้ไม้หรือแท่งพลาสติกทำความสะอาด โดยสอดผ้าเข้าไปเช็ดข้างในตัวขลุ่ยให้สะอาด
4.เมื่อ เห็นว่าแห้งที่แล้ว ควรทาวาสลินที่บริเวณข้อต่อต่าง ๆ เพื่อง่ายต่อการประกอบเข้าด้วยกัน และไม่แน่นเกินไปเมื่อจะถอดออกมาทำความสะอาดในครั้งต่อไป
5.ควรเก็บใส่ ซองเก็บ หรือกล่องที่ติดมากับตัวเครื่อง เพื่อความเป็นระเบียบ ฝุ่นไม่เกาะ เล้วนำไปเก็บในตู้ หรือบริเวณที่เก็บเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย
ประโยชน์ของการดูแลรักษาขลุ่ยรีคอร์เดอร์
 เครื่องดนตรีสะอาดไม่เป็นอันตรายต่อผู้เป่า
 เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องดนตรี
 เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย